โครงการรถไฟฟ้า
สายสีเขียวเข้ม
(บีทีเอสสายสีลม)

จุดเด่นของรถไฟฟ้าสายนี้

  • รถไฟฟ้าสายแรกของฝั่งธนบุรี สร้างการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาให้กับฝั่งธนบุรีมาตั้งแต่ปี 2552
  • เป็นรถไฟฟ้าสายที่เสมือนเป็นสายเดียวกันกับ สายสีเขียวอ่อน (สายสุขุมวิท) ทำให้สามารถเดินทางผ่านใจกลางเมืองไปได้ทุกทิศทางโดยไม่ต้องแตะบัตรออกจากระบบ
  • วิ่งผ่านย่านธุรกิจสำคัญอย่างสีลม สาทร สยาม
  • มีจำนวนขบวนรถไฟให้บริการเยอะมาก ขบวนยาว 4 ตู้ วิ่งค่อนข้างถี่ และเปิดให้บริการเร็ว-ปิดดึกมาก (ขบวนแรกออกจากต้นทาง 5:30 น. ขบวนสุดท้ายออกจากต้นทาง 0:27 น.)

รูปแบบโครงการ

รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีโครงสร้างเป็นทางยกระดับเหนือพื้นดิน มีสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว 13 สถานี (รวมสถานีสยามที่เป็นสถานีร่วมกับสายสุขุมวิท) มีรถไฟฟ้าให้บริการในสายสีลมและสายสุขุมวิทรวมกันจำนวน 52 ขบวน (ขบวนละ 4 ตู้) และกำลังอยู่ระหว่างสั่งผลิตและรอส่งมอบอีก 46 ขบวน (บางขบวนส่งมาแล้วกำลังวิ่งทดสอบในเส้นทางสำโรง-เคหะฯ) นั่นหมายความว่าเมื่อรถไฟฟ้าล็อตนี้ส่งมาครบในปี 2563 บีทีเอสจะมีขบวนรถไฟให้บริการทั้งหมด 98 ขบวนเลยทีเดียว!

ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายนี้ดำเนินการโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของกลุ่มบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ที่ได้รับสัมปทานโครงการ 30 ปีจากกรุงเทพมหานคร และ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับสัมปทานโครงการจากกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกัน


แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (บีทีเอสสายสีลม)

แนวเส้นทางจากใจกลางเมืองที่สถานียศเส วิ่งไปตามถนนพระรามที่ 1 ผ่านสยามสแควร์ แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนราชดำริ ตรงไปตามถนนสีลม เลี้ยวซ้ายที่ถนนนราธิวาสฯ เลี้ยวขวาเข้าถนนสาทร แล้ววิ่งตรงไปตามถนนสาทร ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่กึ่งกลางสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (สะพานตากสิน) วิ่งไปตามถนนกรุงธนบุรีและถนนราชพฤกษ์ สิ้นสุดเส้นทางที่สถานีตลิ่งชัน บริเวณถนนราชพฤกษ์ตัดกับถนนเลียบทางรถไฟสายใต้

รถไฟฟ้าสายนี้ตัดผ่านพื้นธุรกิจหลักของกรุงเทพฯ คือย่านสีลม-สาทร และเป็นเส้นทางหลักในการเดินทางเข้าเมืองของคนฝั่งธนบุรี เมื่อสร้างเสร็จทั้งเส้นทาง จะมีระยะทางรวมประมาณ 22.5 กิโลเมตร และมีสถานี 21 สถานี (รวมสถานีสยามที่เป็นสถานีร่วมกับ สายสุขุมวิท)

สำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลมนั้น แรกเริ่มเดิมทีเมื่อเปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2542 มีเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน หลังจากนั้นก็มีการเปิดส่วนต่อขยายจากสถานีสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่ และเปิดให้บริการเพิ่มเติมจนถึงสถานีบางหว้าในปี 2556

เวลาเปิด/ปิดบริการ

รถไฟฟ้าบีทีเอสในปัจจุบันให้บริการตั้งแต่ก่อน 6 โมงเช้า จนถึงหลังเที่ยงคืน โดยแต่ละสถานีจะมีเวลาออกของรถขบวนแรกและขบวนสุดท้ายแตกต่างกัน ตามตารางด้านล่าง

ที่มา: เว็บไซต์บีทีเอส

ความคืบหน้าของส่วนต่อขยาย

สถานีศึกษาวิทยา (สถานีในอนาคต)

หลายคนอาจจะสังเกตว่ารถไฟฟ้าสายนี้มีสถานีที่ปรากฎในแผนที่ แต่ยังไม่ได้มีการสร้างสถานีขึ้นจริง ได้แก่ สถานีศึกษาวิทยา (S4) และสถานีเสนาร่วม (N6) สองสถานีนี้เป็นสถานีในอนาคตที่ BTS จะดำเนินการสร้างเมื่อการประมาณการผู้โดยสารถึงจุดที่คุ้มค่าต่อการก่อสร้าง

โดยปัจจุบันสถานีศึกษาวิทยา (S4) มีโครงการจะก่อสร้างเพิ่มเติม และผ่านการอนุมัติ EIA เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ในช่วงของการเตรียมการก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดให้บริการประมาณปี 2564

ส่วนต่อขยายในอนาคต

จากข่าวล่าสุดประมาณกลางปี 2561 ที่ผ่านมา ระบุว่ากรุงเทพมหานครอยู่ระหว่างการศึกษาและทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) สำหรับโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายจาก สถานีบางหว้า (S12) ถึง สถานีตลิ่งชัน (S18) แต่มีปัญหาล่าช้ามาตั้งแต่ปี 2558 เนื่องจากติดปัญหาการหาพื้นที่สร้างสถานีจ่ายไฟฟ้า ปัจจุบันยังไม่มีข่าวคราวความคืบหน้าของส่วนต่อขยายสายนี้

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ (10 พฤษภาคม 2561)

ในขณะที่ส่วนต่อขยายจาก สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ (W1) ถึง สถานียศเส (W2) จำนวน 1 สถานีเพื่อไปเชื่อมต่อกับ รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ยังไม่มีแผนและความคืบหน้าใดๆ


ตำแหน่งสถานีและบริเวณใกล้เคียง

ช่วงที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน
(สนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า)

(W1) สนามกีฬาแห่งชาติ

(CEN) สยาม

สถานีร่วมระหว่าง

สายสุขุมวิท และ สายสีลม

(S1) ราชดำริ

(S2) ศาลาแดง

(S3) ช่องนนทรี

รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที
รถไฟฟ้าสายสีเทา

(S5) สุรศักดิ์

(S6) สะพานตากสิน

ท่าเรือสาทร

(S7) กรุงธนบุรี

(S8) วงเวียนใหญ่

(S9) โพธิ์นิมิตร

(S10) ตลาดพลู

รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที
รถไฟฟ้าสายสีเทา


ส่วนต่อขยายในอนาคต

สถานีศึกษาวิทยา

(S4) ศึกษาวิทยา

อยู่บนถนนสาทร ระหว่างสถานีช่องนนทรี (S3) และสถานีสุรศักดิ์ (S5) ใกล้อาคาร AIA สาทรทาวเวอร์

ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-ยศเส

(W2) ยศเส

รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม

อยู่บนถนนลำลูกกา (คลอง 3) ใกล้กับวัดสายไหม, โรงเรียนสายไหม และโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย 2

ช่วงบางหว้า-ตลิ่งชัน

(S13) บางแวก

อยู่บนถนนลำลูกกา (คลอง 3) ใกล้กับวัดสายไหม, โรงเรียนสายไหม และโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย 2

(S14) บางเชือกหนัง

อยู่บนถนนลำลูกกา (คลอง 4) ใกล้กับสามแยกถนนพระองค์เจ้าสาย/ถนนไสวประชาราษฎร์ ใกล้กับห้างบิ๊กซีลำลูกกาคลอง 4

(S15) บางพรม

อยู่บนถนนลำลูกกา (คลอง 5) ใกล้คลังน้ำมันเอสโซ่ และแยกต่างระดับลำลูกกา

(S16) อินทราวาส

ตั้งอยู่ใกล้กับห้างบิ๊กซีลำลูกกาคลอง 5 และโฮมโปรลำลูกกา

(S17) บรมราชชนนี

ตั้งอยู่บริเวณซอยเทศบาลบางปู 59 ใกล้กับสวางคนิวาส ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย

(S18) ตลิ่งชัน

รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน

ตั้งอยู่บริเวณซอยเทศบาลบางปู 65 ใกล้กับเมืองโบราณ